เวลาซื้อขายรถ หรือ จะโอนรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ทุกครั้ง เราต้องมีชุดโอนด้วย ซึ่งชุดโอนลอยนั้นก็เหมือนกับชุดโอนปกติทุกอย่าง ยกเว้นแค่เอกสารโอนลอยนั้น จะเซ็นชื่อไว้แค่ผู้โอนรถเท่านั้น (เจ้าของรถคนเก่า ก่อนโอน) และเว้นว่างในส่วนของผู้รับโอนไว้ เพื่อให้สะดวกแก่การซื้อขาย เพราะ ผู้ซื้อที่อาจจะเปลี่ยนผู้รับโอนทีหลัง (นำรถไปขายต่อ หรือ เปลี่ยนใจโอนให้คนอื่น เป็นต้น)
ข้อดีของการเซ็นเอกสารโอนลอย
- สะดวกรวดเร็ว ซื้อขายแล้วจบเลย ผู้โอนรถไม่ต้องไปดำเนินการโอนรถเอง
- สะดวกผู้รับโอน เช่น ต้องการเปลี่ยนผู้โอนทีหลัง หรือ ขายต่อก็โอนง่าย
- ไม่ต้องเสียเงินหลายรอบ เช่น ถ้าพ่อค้ารถไปซื้อรถมา แล้วมาดอนเป็นชื่อพ่อค้าก่อน 1 รอบ จากนั้นเมื่อขายรถได้ ก็โอนอีก 1 รอบ ให้ผู้ซื้อ แต่ถ้ามีชุดโอนลอยนั้น เราจะโอนแค่ต่อเดียว ข้ามการโอนเป็นของพ่อค้าไปเลย ก็จะประหยัดทั้งเวลา และเงินค่าโอน
ข้อเสียของเอกสารโอนลอย คือ
- รถยังเป็นชื่อเจ้าของคนเก่าอยู่ เมื่อเกินเหตุ หรือ คดีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรถ เจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะติดต่อมาหาเราก่อน (ดังนั้นเราควรทำสัญญาซื้อขายไว้ เพื่อป้องกันเคสแบบนี้)
- ถ้าผู้รับโอน หรือ ผู้ซื้อนำเอกสารไป ดอง ไว้ เป็นเวลานาน จนสำเนาบัตรประชาชนของผู้โอนหมดอายุ ก็จะไม่สามารถโอนรถได้
เอกสารโอนลอยประกอบไปด้วย
- สมุดเล่มทะเบียนรถตัวจริง (รถยนต์สีน้ำเงิน , รถมอเตอร์ไซค์สีเขียว)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้โอน (เจ้าของรถคนเก่า)
ถ้าเป็นนิติบุคคลใช้ หนังสือรับรองบริษัท อายยุไม่เกิน 6 เดือน และ สำเราบัตรปชช. กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม - ใบคำขอโอน และรับโอน เซ็นชื่อผู้โอนรถ (ดาวน์โหลดที่นี่)
- ใบมอบอำนาจ เซ็นชื่อผู้โอนรถ (ดาวน์โหลดที่นี่)
- ข้อควรระวัง!! เอกสารต่างๆ ควรขอไว้อย่างน้อย 2 ชุด เผื่อในกรณีมีปัญหา เราจะได้ไม่ต้องวิ่งไปขอใหม่
สิ่งสำคัญอีกหนึ่งอย่าง คือ เราต้องโอนก่อนที่บัตรประชาชนของเจ้าของรถคนเก่าหมดอายุ เพราะ ถ้ามันหมดอายุไปแล้ว เราจะโอนรถไม่ได้ และต้องติดต่อเจ้าของรถ เพื่อขอบัตรประชาชนใหม่ และเอกสารที่เรากรอกไว้นั้น ยังไม่ต้องลงวันที่แต่อย่างใด ค่อยลงวันที่ใกล้ๆ วันที่เราจะไปโอนรถที่กรมการขนส่ง